การใช้เพลงคลาสสิคช่วยบำบัดจิตใจและสุขภาพของผู้ป่วยได้

3

อิทธิพลของเพลงมีมากในชีวิตประจำวันของคนเรา หากที่ทำงานหรือบริษัทเปิดเพลงบรรเลงก็จะทำให้พนักงานทำงานอย่างกระชุ่มกระชวย หรือขณะที่มีการแข่งขันกีฬา ถ้าเปิดเพลงปลุกใจก็จะทำให้เหมือนมีพลังพิเศษเกิดขึ้น ตรงกันข้ามถ้ากำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า อกหัก หากฟังเพลงเกี่ยวกับความผิดหวังก็จะยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียด คิดถึงอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นเพลงจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตและจิตใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ ร็อคหรือดิสโก้นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอูเบิรน์และมหาวิทยาลัยสเตดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาร่วมกันพบว่าดนตรีคันทรี มิวสิค ของอเมริกามีอิทธิพลโน้มน้าวใจอย่างมากเมื่อฟังแล้วอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเพลงประเภทอื่นๆ สาระของเพลงจะบอกถึงความวุ่นวายใจในความรัก การทำงานที่ยากลำบาก รวมถึงการกินหล้าจนเป็นพิษสุราเรื้อรัง เมื่อฟังแล้วทำให้เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่อยากสู้ชีวิตอีกต่อไป

 

ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดสอบเรื่องเสียงเพลงที่ผลต่อความเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยการปลูกต้นไม้ไว้ 2 แปลง แปลงหนึ่งปลูกแล้วรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอ ส่วนอีกแปลงเพิ่มการเปิดเพลงบรรเลงเข้าไปด้วย ต่อมาพบว่าต้นไม้ที่เปิดดนตรีให้ฟังเจริญงอกงามออกดอกออกผลได้ดีกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้เปิดเพลง เพลงที่เขาเปิดนั้นเป็นเพลงประเภทคลาสสิคและไลท์มิวสิค ซึ่งนักวิชาการหลายสาขาเชื่อว่า การฟังเพลงประเภทนี้จะช่วยรักษาโรคและทำให้สติปัญญาฉลาดขึ้น เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN เปียโนคู่ของโมสาร์ท ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์) ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม เพลงคลาสสิกที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการได้ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้อีก ทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้

เลือกฟังเพลงคลาสสิคทำให้ร่างกายจิตใจสบาย

เลือกฟังเพลงคลาสสิกทำให้ร่างกายจิตใจสบาย

ดนตรีคลาสสิกเป็นเพลงไพเราะอันทรงคุณค่า เป็นดนตรีของยุโรปนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1820 เป็นดนตรีที่มีแบบฟอร์มสลับซับซ้อน มีทั้งเพลงประเภทเต้นรำ เพลงรักเพลงทีบรรยายถึงธรรมชาติ จะมีลักษณะบรรยากาศที่ช้าและเร็วสลับกันไป เป็นดนตรีที่เกิดขึ้นจากในวัดในโบสถ์จนกลายมาเป็นเพลงชาวบ้านมีกระบวนเพลงด้วยกันหลายกระบวนเร็ว-ช้า-เร็ว สลับกันไป เป็นเพลงที่มีศักยภาพสูงมากในการสื่อสารทางอารมณ์และสติปัญญาอย่างเข้มข้นและลึกซึ้ง มีความวิเศษและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก ก็เพราะได้รับการยกย่องกันว่าเป็นเพลงคลาสสิกของทุกวัฒนธรรมสามารถตอบสนองการรับฟังของมนุษย์เราได้ในทุกระดับซึ่งบทเพลงของดนตรีกลุ่มนี้ รับรองกันแล้วว่าดีถึงขนาด อยู่มานานและจะอยู่ไปได้อีกนานๆ เป็นผลงานของศิลปินที่มีความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ ความกระจ่างชัดในด้านเนื้อหาและแบบแผนหรือรูปทรง  ทั้งเป็นสมบัติล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ (classicในที่นี้แปลว่า อมตะ ไม่ตายง่ายๆ) บางบทบางประเภทก็ประเทืองปัญญา บางบทบางประเภทก็ประเทืองอารมณ์อันลึกซึ้งละเอียดอ่อน บางบทบางประเภทก็มีพลังลึกล้ำที่สามารถปลดปล่อยความรู้สึกและอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆตามประสามนุษย์ของเราได้ดียิ่งกว่าเพลงประเภทอื่นใด สรุปคืออยู่มาได้นานและจะอยู่ต่อไปได้อีกนานๆ เพราะเป็นดนตรีที่เข้มข้นสุดฤทธิ์สุดเดชในหลากหลายทางยิ่งกว่าเพลงประเภทใดๆ โมสาร์ท เอฟเฟค(The Mozart  Effects ) เป็นเรื่องกำเนิดมาจากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาเด็กด้วยการให้เด็กฟังเพลงคลาสสิก  ได้เริ่มต้นจากข้อสมมติฐานที่เชื่อว่าเด็กจะโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ถ้าได้ให้ฟังเพลงคลาสสิก มีข้อสมมติฐานดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากผลงานค้นคว้าในปี 1993 ของ Frances Rauscher นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย University of California วิทยาเขตเออร์ไวน์

การวิจัยเกี่ยวกับ The Mozart  Effect  : เพลงคลาสสิคทางเลือกใหม่ของการพัฒนาศักยภาพสมองให้เกิดการเพิ่มพูนความทรงจำและความเฉลียวฉลาด(อริยะ สุพรรณเภษัช:2543) หลายปีที่ผ่านมา  ได้มีการทดลองซึ่งได้แสดงให้ทราบว่าการฟังดนตรีคลาสสิกจะทำให้สามารถเพิ่มพูนความทรงจำ  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่าThe Mozart Effect   เพราะว่าเพลงที่คัดเลือกมาใช้มาใช้ในการเพิ่มพูนความจำนั้นเป็นเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart  ประชาชนที่ได้อ่านรายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้จากวารสารและหนังสือพิมพ์ชื่อดังต่าง ๆ ก็สนใจที่จะฟังเพลงคลาสสิคเพราะว่ามันน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่จะเพิ่มพูนความจำและเพิ่มความเฉลียวฉลาดทางปัญญา