การฟังเพลงคลาสสิคจะช่วยในเรื่องสุขภาพและจิตใจของเรา

ผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ก็ได้รายงานสอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีในฐานะที่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดของมนุษย์ แต่ต้องเป็นดนตรีที่เกิดจากการฟังอย่างตั้งใจ หาใช่เพียงแค่การได้ยิน  ทั้งนี้เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้นจะทำให้เราได้มีโอกาสพิจารณา จำแนก และวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบความเป็นทางการหรือเนื้อหาที่ผ่อนคลายและแนวดนตรี  ซึ่งประโยชน์ของดนตรีในแง่ของการเสริมสร้างความฉลาดนี้ดำเนินไปในลักษณะเดียวกับการออกกำลังกายที่สามารถพัฒนาการทำงานของสมองน้อยได้ด้วยการเพิ่มข้อมูลสำเร็จรูปของประสบการณ์ การเคลื่อนไหว ความรู้สึก อารมณ์ การวิเคราะห์ ความสามารถในการจดจำ เปรียบประดุจการสะสมทรัพย์อันมีค่า เมื่อต้องการก็หยิบออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีและเป็นทุนรอนสำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มทรัพย์ในครั้งต่อไป ถ้าเป็นเช่นนี้คงต้องรีบแสวงหาดนตรีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและคนที่เรารัก และหลีกเลี่ยงดนตรีที่ไม่เหมาะสม  เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชีวิตนอกจากนี้ต้องกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของสมองส่วนอารยะ หรือ ส่วนที่เรียกว่า neocortext   ด้วยดนตรีคลาสสิกประจำพูสมอง เพื่อกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของพูสมองแต่ละส่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองส่วนปัญญาเหล่านั้น

ดนตรีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดนตรีคลาสสิคที่ให้คลื่นเสียงอัลฟ่าแก่สมอง คลื่นเสียงจะมีพลังกระตุ้นสูงต่อพูสมองส่วนพาไรทัล และระบบประสาทอัตโนมัต ทำให้เกิดการปรับคลื่นสมองเข้าสู่คลื่นอัลฟ่า,สร้างความสงบและทำให้เกิดการพัฒนาสมาธิในระดับสูง นอกจากนั้นยังพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ จินตภาพ ทักษะด้านคณิตศาสตร์  ความรู้สึกสัมผัส  ความลึกซึ้งในสุนทรียภาพทางดนตรี  และจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบสามมิติ Spatial temporal reasoning เนื่องจากดนตรีคลาสสิกกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ(spatial-temporal reasoning)ได้มีความเชื่อว่าความทรงจำจะสามารถถูกเพิ่มพูนได้เพราะว่า ดนตรีและความสามารถของทักษะด้านมิติสัมพันธ์และการจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบ 3 มิติ และทักษะความฉลาดในการใช้ช่องว่าง(spatial abilities) ภายในสมอง จะมีความสัมพันธ์ร่วมในทางเดินเดียวกันภายในสมอง  ดังนั้นพวกเขาจึงสรุปว่าดนตรีจะมีส่วนในการช่วยกระตุ้นสมองสำหรับการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์(  the spatial reasoning test) ซึ่งจะทำให้มีเชาว์ปัญญาดีขึ้น ทางด้าน spatial-temporal หรือด้านการจิตนาการและการลำดับเวลา ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกความเฉลียวฉลาดของคน

การฟังเพลงเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ที่ไม่ใช่แค่ครื้นเครงอย่างที่คิด


การฟังเพลง มีประโยชน์เพื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดสมาธิ เราจึงควรหาโอกาสฟังเพลง โดยเลือกเวลาที่ว่างหรือเวลาที่ไม่รีบเร่ง หรือไม่ต้องใช้ความคิด เช่น เวลารับประทานอาหาร ระหว่างการเดินทาง ขณะพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือขณะทำงานบ้าน เป็นต้น หากจะใช้ในที่ทำงาน ควรเลือกเวลา สถานที่และโอกาสที่เหมาะสม เพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น และควรมีเทปเพลงที่ชื่นชอบหรือโปรดปราน ติดไว้เพื่อหยิบใช้ได้สะดวกทุกเวลาที่ต้องการ

เราสามารถเริ่มต้นการฟังเพลงได้ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เราอาจจะมีวิทยุสักเครื่อง หยิบวิทยุเข้าไปฟังเพลงในห้องน้ำ เปิดเพลงเพราะๆ เสียงใสๆ ทำให้เรามีชีวิตชีวาแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ขณะเราออกเดินทางไปทำงานควรฟังเพลงช้าที่มีเสียงร้องที่กังวานแจ่มใส ขณะที่ทำงาน ควรฟังเพลงบรรเลง ซึ่งจะช่วยทำให้บรรยากาศทำงานสดชื่นขึ้น

ขณะออกกำลังกายควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว จะช่วยทำให้อยากจะออกกำลังกายมากยิ่งขึ้นและออกกำลังได้เป็นเวลานาน การออกกำลังกายที่ดีควรมีการวอร์มร่างกายก่อน โดยออกกำลังกายเบาๆ โดยใช้เพลงจังหวะปานกลาง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็วมากขึ้น และกลับมาเป็นจังหวะปานกลางอีกครั้ง การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ คือ จะต้องมีอัตราชีพจรประมาณ 70% ของอัตราชีพจรสูงสุดของคนคนนั้น (220 ลบด้วยอายุ) จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ลดไขมันส่วนเกิน และยังช่วยให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสขึ้นอีกด้วย ถ้าหากมีเหนื่อย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟินออกมาเพื่อทำให้เกิดความสุข ในเวลาแบบนี้ เพลงช่วยทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสำเร็จในการออกกำลังกาย

การฟังเพลงให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. คุณภาพของเพลงที่ฟัง ตลอดจนเครื่องเล่นเสียงที่ถ่ายทอดเพลงออกมา
2. สถานที่ที่เหมาะสมในการฟังเพลง ซึ่งจะช่วยให้ฟังเพลงได้ไพเราะขึ้น สร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับผู้ฟัง
3. โอกาสควรเป็นช่วงที่ว่าง เป็นเวลาที่ผู้ฟังมีความพร้อมที่จะฟังเพลงและมีอารมณ์มากที่สุด
4. ระยะเวลาการฟังเพลงที่เหมาะสม ถ้าฟังเพลงนานมากเกินไป จะทำให้เกิดความเบื่อ เหนื่อย และเมื่อยล้าได้ เพราะประสาทการรับฟังจะทำงานมากไป
5. ระดับการรับรู้และอารมณ์ของผู้ฟัง ประเภทของเพลงที่ฟังควรเป็นเพลงที่ไพเราะและมีความสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี หลีกเลี่ยงเพลงทำนองเศร้า หดหู่ หรือก่อให้เกิดความตึงเครียด สับสน รำคาญ ตื่นเต้นตกใจ เหนื่อย ดังนั้นเพลงที่มีจังหวะช้าและจังหวะปานกลาง จะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถฟังได้หลายโอกาส

เพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดและรักษาโรค

เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ,ร็อค,ดิสโก้ แต่เป็นเพลงคลาสสิกที่ช่วยพัฒนาสมองและรักษาโรค เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วยได้อย่างไรบ้าง

1 .เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN (K.448) เปียโนคู่ของโมสาร์ท (เล่นสองคน) ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม

คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์)ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม

2 .เพลงคลาสสิคที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้ อีกทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้

3.ดนตรีใช้ในห้องผ่าตัด หมอแน็ช หนึ่งในจำนวนแพทย์หลายคนใช้ดนตรีเปิดในห้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรักษาคนไข้ได้ดีทีเดียว

4.ดนตรีทำให้โรคหายเร็ว หมอแมทธิวเอช ลี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ผู้ติดยาเสพติด มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งนิวยอรค์ กล่าวว่า เราพบว่าดนตรีให้ประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันปัญหายุ่งยากต่าง ๆ ของคนไข้ ช่วยให้อาการของคนไข้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก และทำให้นอนพักอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ดนตรีที่ดีจะช่วยลดอาการตื่นเต้น และหดหู่ใจ

5.ดนตรีกับเด็กพิการทางสมอง รูธ ลี แอดเลอร์ นักดนตรีบำบัดเด็กในโรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐ ซึ่งมีปัญหากระทบด้านอารมณ์ ทำให้สมองสั่งการเชื่องช้า แต่จากการบำบัดด้วยเสียงดนตรี ปรากฏว่าเด็กเหล่านี้มีการตอบสนองได้อย่างดียิ่ง

6.คนไข้โรคประสาท หมอโอลิเวอร์ แช็ค กล่าวว่า คนไข้ที่ได้รับความทรมานจนเป็นโรคประสาทร่างกายผิดปกติ ไม่สามารถพูดได้ เมื่อใช้ดนตรีบำบัดรักษาจะเคลื่อนไหวได้

7.ดนตรีช่วยให้คลายเคลียด นักจิตวิทยาชี้ว่า ผู้ป่วยร้อยละ 60-80 ที่มาพบแพทย์มีสาเหตุมาจากความเครียด และคนเราจะตอบสนองต่อความเครียดในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในวัยเด็ก และพื้นฐานทางอารมณ์ของแต่ละคน อาจารย์พิชัย ปรัชญานุสรณ์ ได้กล่าวถึงการนำดนตรีมาคลายความเครียดว่าเป็นหลักการทางธรรมชาติที่ทำให้คนเราเกิดความสุขใจได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นผลลบต่อสุขภาพ

แอโรบิกเผาผลาญไขมัน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน

วิธีการออกกำลังกายชนิดหนึ่งที่นำเอาท่าบริหารกายต่างๆผสมผสานกับทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น และจังหวะเต้นรำที่จะกระตุ้นให้หัวใจและปอดต้องทำงานมากขึ้นถึงจุดหนึ่ง ด้วยระยะเวลาที่นานเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นการสร้างบรรยากาศในการออกกำลังกายที่สนุกสนานรื่นเริงลืมความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายได้ ทั้งยังสร้างความแข็งแรง ความทนทานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด หัวใจและปอดได้ดีขึ้น ทำให้รูปร่างสมส่วนมีบุคลิกภาพที่ดี ควรทำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-60 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน

แอโรบิกจะเป็นการออกกำลังกายเกือบจะทุกสัดส่วน

เพราะว่ามันต้องเคลื่อนไหวตลอด เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะสูบฉีดเลือด ทำให้หัวใจทำงาน ช่วยเพิ่มเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่ออยู่ในภาวะการออกกำลังกาย เมื่อกล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราจะออกกำลังกายได้ดี ไม่ค่อยเหนื่อย ลองนึกถึงแรกๆ เราไปเต้นแอโรบิค เหนื่อยมากเต้นตามไม่ทันอีกต่างหาก พอเต้นไปสัก 1 อาทิตย์ ร่างกายเริ่มเข้าที่ เริ่มเหนื่อยช้าลง เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ก็ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เพราะว่าหัวใจเราสูบฉีดแรงอยู่แล้ว เส้นเลือดต่างๆ ก็ไม่อุดตัน ความดันเลยปกติ

ประเภทของการเต้นแอโรบิก

1.การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ (Low – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกต่ำ เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นที่มีบ้างเล็กน้อยหรือเกือบจะไม่มีเลย
2.การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง (High – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกสูง เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของการกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้นที่ค่อนข้างจะรุนแรง
3.การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลาย (Multi – impact aerobics dance) การเต้นที่มีแรงกระแทกหลากหลายเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของแรงกระแทกต่ำและแรงกระแทกสูงผสมกัน
4.การเต้นที่ปราศจากแรงกระแทก (No – impact aerobics dance) การเต้นแอโรบิกที่ปราศจากแรงกระแทก เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่มีแรงกระแทกระหว่างร่างกายกับพื้น

ข้อควรระวังในการเต้นแอโรบิก

1)กล้ามเนื้อฉีกขาด ก่อนเต้นแอโรบิกทุกครั้งควรอบอุ่นร่างกายเสมอด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกสัดส่วนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะออกกำลังกาย
2)ปวดข้อต่างๆ ก่อนอื่นต้องตรวจสอบสภาพร่างกายตัวเองว่าอยู่ในสภาพพร้อมหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องระบบของข้อต่อต่างๆ
3)ข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงท่าอันตรายต่างๆ ซึ่งท่าที่ไม่ควรนำมาเต้นแอโรบิก
4)จุกเสียด ไม่ควรดื่มน้ำในปริมาณมากเกินไป เมื่อรู้สึกเหนื่อยและกระหายน้ำควรจิบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
5)หัวใจล้มเหลวกะทันหัน ไม่ควรดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีนก่อนออกกำลังกาย

การใช้เพลงคลาสสิคช่วยบำบัดจิตใจและสุขภาพของผู้ป่วยได้

3

อิทธิพลของเพลงมีมากในชีวิตประจำวันของคนเรา หากที่ทำงานหรือบริษัทเปิดเพลงบรรเลงก็จะทำให้พนักงานทำงานอย่างกระชุ่มกระชวย หรือขณะที่มีการแข่งขันกีฬา ถ้าเปิดเพลงปลุกใจก็จะทำให้เหมือนมีพลังพิเศษเกิดขึ้น ตรงกันข้ามถ้ากำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า อกหัก หากฟังเพลงเกี่ยวกับความผิดหวังก็จะยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียด คิดถึงอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นเพลงจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตและจิตใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เพลงทำให้สมองดีขึ้น ในโอกาสนี้อยากจะชี้ให้เห็นถึงผลของการฟังเพลงที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและสมอง ซึ่งเพลงประเภทนี้คงไม่ใช่เพลงประเภทแร็พ ร็อคหรือดิสโก้นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอูเบิรน์และมหาวิทยาลัยสเตดแห่งสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาร่วมกันพบว่าดนตรีคันทรี มิวสิค ของอเมริกามีอิทธิพลโน้มน้าวใจอย่างมากเมื่อฟังแล้วอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเพลงประเภทอื่นๆ สาระของเพลงจะบอกถึงความวุ่นวายใจในความรัก การทำงานที่ยากลำบาก รวมถึงการกินหล้าจนเป็นพิษสุราเรื้อรัง เมื่อฟังแล้วทำให้เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่อยากสู้ชีวิตอีกต่อไป

 

ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดสอบเรื่องเสียงเพลงที่ผลต่อความเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยการปลูกต้นไม้ไว้ 2 แปลง แปลงหนึ่งปลูกแล้วรดน้ำพรวนดินสม่ำเสมอ ส่วนอีกแปลงเพิ่มการเปิดเพลงบรรเลงเข้าไปด้วย ต่อมาพบว่าต้นไม้ที่เปิดดนตรีให้ฟังเจริญงอกงามออกดอกออกผลได้ดีกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้เปิดเพลง เพลงที่เขาเปิดนั้นเป็นเพลงประเภทคลาสสิคและไลท์มิวสิค ซึ่งนักวิชาการหลายสาขาเชื่อว่า การฟังเพลงประเภทนี้จะช่วยรักษาโรคและทำให้สติปัญญาฉลาดขึ้น เพลงคลาสิคช่วยให้สมองดีขึ้น โดยให้นักศึกษาฟังเพลงคลาสสิค SONATA IN เปียโนคู่ของโมสาร์ท ใช้สมาธิฟัง 10 นาที ผลปรากฏว่านักศึกษาทุกคนสามารถผ่านการทดสอบโดยมีไอคิวสูงขึ้น 9 แต้ม คำกล่าวของ ฟราสซิส รอเชอร์ นักค้นคว้าทางปราสาทชีววิทยา ค้นพบว่าเพลงร็อคและป็อปที่เป็นที่นิยมอยู่ในอเมริกาทั้งกลางวันและกลางคืน (วิทยุ,โทรทัศน์, แผ่นเสียง,วิทยุในรถยนต์) ดนตรีเหล่านี้มีผลต่อสติปัญญาของมนุษย์ในด้านลบ คือจังหวะดนตรีกระแทกกระทั้น ซ้ำซาก ให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือ จะไปทำลายเซลของมันสมองมากกว่าส่งเสริม เพลงคลาสสิกที่ดีช่วยผู้ป่วยพิการได้ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดของญี่ปุ่น MR.TAKEOMI AKABOSHI ได้ใช้ดนตรีบำบัดผู้ป่วยพิการให้สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้อีก ทั้งช่วยคลายความเศร้า หงอยเหงา เราจึงเห็นว่าดนตรีสามารถบำบัดรักษาโรคได้