ข้อดีของการเปิดเพลงคลาสสิคที่ให้ลูกฟังขณะตั้งครรภ์

ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อแม่ร้องเพลงกล่อมลูกน้อย ครั้นเติบโตขึ้นกิจกรรมต่างๆ เช่นการทำงาน การกีฬา พิธีกรรม ล้วนมีความ สัมพันธ์กับดนตรีทั้งสิ้น กระทั่งสุดท้ายแห่งชีวิต ดนตรีก็ยังเข้ามามีบทบาท ดังนั้นดนตรีกับชีวิตมนุษย์จึงเป็นสิ่งผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นและเอื้อประโยชน์ต่อกัน

คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ควรให้ฟังเพลงเบาๆ จำพวกเพลงบรรเลงเพื่อสร้างความผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดี และยังช่วยให้ทารกในครรภ์พัฒนาการด้านการได้ยินและตอบสนองกับเสียงรอบตัวได้  จริงๆ แล้วระบบประสาทการรับฟังของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์เป็นต้นไป เสียงทุกอย่างที่คุณแม่ได้ยินจะถูกนำไปใช้เป็นเสียงกระตุ้นในการสร้างใยประสาทเกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อยในครรภ์

เสียงที่ดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับคือเสียงเพลง โดยเฉพาะเพลงที่มีความไพเราะและเป็นที่ชื่นชอบของคุณแม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงคลาสสิกหรือเพลงบรรเลงเสมอไปเพราะเด็กยังไม่สามารถแยกอะไรออก ขอให้เป็นเพลงที่คุณแม่ฟังแล้วอารมณ์ดีก็พอแล้ว คุณแม่อาจจะเปิดเพลงเบา ๆ ไม่ต้องให้ใกล้กับครรภ์มากนัก เมื่อทารกในครรภ์ได้ฟังเพลง คลื่นเสียงของเพลงจะไปกระตุ้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เมื่อเด็กคลอดออกมา ทำให้มีพัฒนาการทางความคิด การจัดเรียงลำดับทางความคิด และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี กว่าเด็กที่ไม่ไดผ่านการกระตุ้นจากเสียงดนตรี

นอกจากเสียงเพลงแล้วการพูดคุยกับเขาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง การพูดคุยกับเขาควรพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อย่าพูดคุยถึงเรื่องทุกข์ใจ เพราะเขาสามารถรับรู้สิ่งที่คุณแม่รู้สึกได้และอาจจะทำให้เขาเครียดตั้งแต่อยู่ในท้อง และเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การเปิดเพลงเบาๆ แต่หลากหลายมากขึ้นก็ยังคงมีประโยชน์ (ยกเว้นเพลงร็อคและเพลงแรพ) เสียงเพลงนั้นสามารถทำให้เด็กอารมณ์ดีและรู้สึกผ่อนคลาย การร้องเพลงให้ลูกฟังก็สำคัญเพราะเด็กโดยส่วนมากจะชอบฟังเสียงคุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องสนใจว่าจะร้องผิดคีย์หรือไม่ แค่ให้เขารู้สึกสนุก ปรบมือหรือโยกย้ายอวัยวะตามไปพร้อมกับเราก็พอแล้ว

การปลูกฝังให้ลูกน้อยรักในเสียงเพลงและเสียงดนตรีนั้นสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และจิตใจของลูกน้อยได้ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นการผลักดันให้เขาชอบทางดนตรีหรือสร้างความอัจฉริยะทางดนตรีให้แก่เขา เราเพียงใช้เสียงเพลงเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เขาอารมณ์ดีและพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตามวัยเท่านั้น

วิธีดนตรีบำบัดเพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียดและเป็นการชะลอความแก่

3

ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพของเราลดลง ทำให้เราแก่ตัวเร็วขึ้น วันนี้จะเสนอวิธีดนตรีบำบัด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียด และเป็นการชะลอความแก่ และ ดูแลสุขภาพด้วยตนเองง่ายๆ ฟัง เสียงดนตรีคึกคักใจเราก็อยากเต้นตาม แต่พอเป็นจังหวะสบายๆ เราก็เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย อย่างกับว่าจังหวะและเสียงนั้นสั่งใจเราได้ก็ไม่ผิดนักด้วย เหตุนี้เอง คนยุคใหม่เลยนำความมหัศจรรย์ของดนตรีมาใช้กับการบำบัดความเครียด นอกเหนือจากการฟังเพลงทั่วๆ ไปแล้วรู้สึกดี ซึ่งจะว่าไปแล้ว ดนตรีไม่ได้เกิดจากจินตนาการในการจับโน่นผสมนี่ของตัวโน้ตอย่างที่เราคิด แต่เป็นการเรียบเรียงที่เป็นแบบแผน และมีโครงสร้างที่สามารถอธิบายในแนวทางวิทยาศาสตร์ได้ ดนตรีจึงสามารถสร้างขึ้นเพื่อนำมาบำบัดมความรู้สึก และอารมณ์เราได้อย่างน่าเชื่อถือ

ดนตรี เป็นสื่อภาษาสากลที่ไม่ว่าคนชาติไหนๆ ก็เข้าใจเนื้อดนตรีเดียวกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ดนตรีจึงสามารถใช้สื่อสารได้กับคนทั้งโลก รวมทั้งการนำมารักษาโรคได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนที่ผิดปกติทางอารมณ์ตั้งแต่อดีตมาแล้วที่เรารู้จักดนตรี และยังพบว่ามันมีพลังมหาศาลนารรักษาโรค อย่างคนธิเบตก็ใช้วิธีการเคาะระฆัง เคาะชาม และใช้เสียงสวดมนต์ในพิธีกรรม ที่เชื่อด้วยว่าจะช่วยปรับสมดุลใจของเรา คนไทยเราเองก็ใช้การสวดมนต์ ที่นอกเหนือจากเรื่องศาสนาแล้ว ก็ยังเป็นคลื่นเสียงที่ช่วยสงบจิตใจเราให้นิ่งขึ้น นี่ล่ะที่เป็นเหตุผลที่ว่า เวลาเราซึมเซา อยากกระฉับเฉง แค่เปิดดนตรีฟังสนุกเราก็ตื่นตัวขึ้นมาได้ง่ายๆ แล้ว ดนตรีจึงมีพลังกับเราไม่น้อยเลย และยังสามารถนำมาจัดการกับความเครียดได้ด้วย เพราะหากเราได้ฟังดนตรีจังหวะผ่อนคลาย การทำงานของสมองเราจะตอบสนองตาม และร่างกายของเราจะเปลี่ยนไป เช่น หายใจเรียบขึ้น หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือกปกติ ม่านตาหดลง กล้ามเนื้อก็ไม่ตึงเกร็ง ผลดีเหล่านี้ทำให้เราศึกษาการใช้ดนตรีมาบำบัดความเครียดกันมากขึ้นเรื่อยๆ และยังรักษาร่างกายที่เจ็บป่วยได้อีกด้วย

พลังของดนตรีคลาสสิกที่ส่งผลต่อพัฒนาของเด็ก

ดนตรีเปรียบเสมือนขนมหวานและเป็นดั่งอาหารสมองที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็ก เพราะดนตรีเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบ เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับดนตรี สมองทั้งสองซีกก็จะทำงานอย่างสมดุล

เชื่อไหมว่า เมื่อแรกเกิดลูกฟังดนตรีรู้เรื่องแล้ว จากการวิจัยพบว่าทารกในครรภ์ช่วงอายุ 7-8 เดือน สามารถรับรู้เสียงดนตรีและได้ยินเสียงที่คุณแม่พูดหรือร้องเพลง ดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองมากกว่า 10 ส่วนทั่วไปหมด ทั้งสมองส่วนบน ส่วนล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้สมองกระตุ้นจินตนาการและความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ วิทยาศาสตร์และภาษา โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ มีจังหวะท่วงทำนองและความกลมกลืนของเสียงที่เหมาะสมจะทำให้สมองของลูกพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกน้อยที่อยู่ในวัยแรกเกิดถึง 3 ขวบ เกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ที่พ่อแม่สอนได้ดียิ่งขึ้น

พลังของดนตรีคลาสสิก ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กส่วนใหญ่จะแนะนำให้พ่อแม่เปิดเพลงช้าๆ มีช่วงทำนองสม่ำเสมอ เช่น เพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง เพราะดนตรีคลาสสิกมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็กให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี จังหวะทำนอง และความกลมกลืนของเสียงดนตรีที่ถูกเรียบเรียงไว้อย่างเป็นลำดับขั้น จะช่วยจัดลำดับความคิดในสมองเด็กและช่วยให้เกิดการผ่อนคลายขณะรับฟังดนตรี การรับฟังดนตรีคลาสสิกเบาๆ ในจังหวะช้าๆ จะทำให้เด็กเกิดอารมณ์สุนทรีย์ ซึ่งความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้รับจะช่วยให้เด็กเปิดรับการเรียนรู้ได้ดี และยังช่วยเสริมสร้างสมาธิจากการที่เด็กสงบนิ่งชั่วขณะหนึ่ง จังหวะและท่วงทำนองที่คลาสสิกของดนตรี จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์แบบมีเหตุมีผลในด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมและการอ่านเขียน

จังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีคลาสสิก ยังมีส่วนในการพัฒนาความสามารถด้านการเรียนภาษาได้ดีขึ้นได้ และบทประพันธ์ของดนตรีคลาสสิกบางชิ้นส่งผลด้านการพัฒนาสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ โดยเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้คำพูด อารมณ์และพัฒนาสมาธิและความจำ ในขณะที่เด็กเรียนรู้ทักษะบางอย่างขณะที่ฟังดนตรีคลาสสิกไปด้วย จะสามารถจดจำสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ได้ดี เข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ความสบายใจที่ได้ฟังดนตรีในวัยเด็ก โดยเฉพาะดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ อย่างดนตรีคลาสสิกมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมด้านความสนใจ ความจำ ความฉลาด และการสร้างอารมณ์ที่ดี จากการฟังดนตรีดังกล่าว ยังช่วยให้ลูกเกิดการใช้สมองทุกส่วนพร้อมกันอีกด้วย

สุขภาพกายและจิตดีด้วยการฟังเพลงคลาสสิก

เสียงบทเพลงของดนตรีเป็นดังภาษาสากลที่คนทุกเชื้อชาติสามารถเข้าใจในความไพเราะได้อย่างเสมอภาค ไม่ใช่เพียงสร้างความเพลิดเพลิน จรรโลงใจให้แก่ผู้รับฟังเท่านั้น แต่ประโยชน์ของดนตรีในทางการแพทย์สามารถนำมาใช้เพื่อการรักษาพัฒนาศักยภาพด้านร่างกายและจิตใจของคนปกติและผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้

การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยจากโรงพยาบาลชาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย พบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิก หรือดนตรีที่เขาชื่นชอบ สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี โดยได้มีการทดลองเปิดดนตรีคลาสสิกให้กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในห้องไอซียู สามารถลดการใช้ยานอนหลับได้เกินครึ่ง ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่าการใช้ยานอนหลับเยอะๆ มีผลข้างเคียงกับคนไข้

เช่นเดียวกับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต้องมีการปลูกถ่ายไขกระดูก มักจะมีความเสี่ยงสูง คนไข้เลยมีความกังวลมาก แต่พอเปิดเพลงให้คนไข้ฟังก็จะช่วยลดความกังวล และเพิ่มความสำเร็จในการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ ซึ่งการเลือกชนิดของดนตรีก็มีส่วนสำคัญในด้านการแพทย์และวัตถุประสงค์ในการใช้ หากคนไข้เครียด สับสน ควรใช้ท่วงทำนองเพลงสบายๆ เย็นๆ หวานๆ หรือต้องการจะใช้ในการปลุกคนไข้ให้ตื่นก็อาจจะเป็นเพลงร็อก จังหวะสนุก ทั้งนี้ความดังและชนิดของโทนเสียงดนตรีก็มีผลต่อการบำบัดที่แตกต่างกัน

การใช้ดนตรีบำบัดให้ได้ผล ผู้ฟังควรมีสมาธิเพื่อให้ประสาทหูและสมองได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ อุณหภูมิห้องที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส แสงในห้องต้องไม่จ้าเกินไป จังหวะเพลงที่เหมาะสม และฟังอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน พร้อมกับรักษาจิตใจควบคู่ไปด้วยจึงจะได้ผลดี

“ทางการแพทย์กายและใจสัมพันธ์กัน มิติหนึ่งของดนตรีที่ให้คือเรื่องของกำลังใจ ดนตรีสามารถพลิกผันคนในยามที่มีความมืดหม่น สามารถสร้างความเพลิดเพลิน ทำให้เกิดการฉุกคิดมองอะไรได้ชัดเจนขึ้น มีมุมมองที่สวยงามมากขึ้น ดนตรีจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้จิตใจมีความสุนทรีย์และมีความอ่อนโยน สร้างอารมณ์ความรู้สึกทางบวก ผ่อนคลายความตึงเครียดได้ รวมทั้งร้องเพลงยังช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองได้อีกด้วย ซึ่งในดนตรีไทยของเรามีความเหมาะสมอย่างมากในการใช้บำบัดจิตใจ ด้วยความซอฟต์ จังหวะนุ่มกว่าดนตรีฝรั่ง ทำให้การรับฟังดนตรีย่อมส่งผลดีต่อร่างกาย”

การฟังเพลงคลาสสิกเพื่อสุขภาพที่ดี

โดยปรกติแล้วการฟังเพลงถือเป็นการพักผ่อน ให้ความบันเทิงเริงรมณ์และสุทรีย์อยู่แล้ว แต่ถ้าในยามที่คุณเครียดหรือเหนื่อยล้าจากการทำงานลองเปลี่ยนแนวเพลงจากเดิม ที่เคยฟังเป็นประจำมาเป็นดนตรี Classic ดูบ้าง รับรองว่าช่วยลดความเครียดที่เป็นตัวก่อให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และปัญหาโรคอื่นๆ ตามมาได้อย่างแน่นอน เวลานั่งที่ฟังเพลง Classic ให้ลองนั่งนิ่งๆ หลับตาสักพัก ปล่อยใจ ไปกับจินตนาการที่เกิดจากทำนองเพลง แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ โดยฟังสักประมาณ 2 เพลงจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและช่วย Refresh สมองให้สดชื่นขึ้นได้อย่างดี ลองหาเวลาพัก ใส่ใจกับความสุข แล้วดูแลตัวเองนะคะ

Tips การฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลาย ให้เลือกเป็นเพลงบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ดีกว่าเพลงเร็วและมีเนื้อร้อง เพราะเพลงที่มีเนื้อร้องจะทำให้เราคิดตามเนื้อเพลง ในขณะที่เป็นเพลงบรรเลงจะทำให้เราปล่อยความคิดและใจไปตามทำนองเพลงได้อย่างอิสระกว่า การฟังเพลง Classic ครึ่งชั่วโมง / 1วัน ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตอ่อนให้กลับลดลงได้

ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากถึงสามในสี่ ดังนั้นหลายทฤษฎีทางการแพทย์จึงให้ความสำคัญในการกระตุ้น รักษาสมดุลการทำงานของน้ำในระดับโมเลกุล หนึ่งในนั้นคือการเชื่อว่า ถ้าสามารถทำให้โมเลกุลน้ำมีการเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์ในลักษณะผลึกหก เหลี่ยม จะทำให้การนำพาอาหารเข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นไปอย่างทรงประสิทธิภาพ และทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากสาเหตุโรคภัย เครื่องมือสำคัญที่ราคาถูกและให้ผลทั้งในแง่อารมณ์ควบคู่ไปกับกายภาพคือ การใช้เสียงดนตรี และนี่คือเคล็ดลับ และหลักการที่คุณควรรู้และเริ่มทำ

คลื่น เสียงมีอิทธิพลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในร่างกายมนุษย์ อวัยวะใดที่มีคลื่นความถี่ต่ำก็มักเกิดการสะสมของสารพิษได้ง่าย ดังนั้น การฟังดนตรีที่เหมาะสมจึงช่วยกระตุ้นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทำงาน สมดุล สม่ำเสมอ จังหวะและเสียงดนตรีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจและสมองของคนเราอย่างมาก การรับฟังดนตรีที่มีความไพเราะอยู่เสมอ จะทำให้สมองหลั่ง สารแห่งความสุข ช่วยลดความตึงเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ มีจิตใจสงบ ระบบหัวใจ ระบบขับถ่าย ระบบหายใจทำงานได้ดี ความดันโลหิตเป็นปกติ ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรค รอดพ้นจากความเจ็บป่วย

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพบว่า หาก ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานประเภทท่องจำ ท่องบทต่างๆ ควรฟังดนตรีประเภทเขย่าครึกโครม หรือดนตรีระบบใหม่ๆ เช่น แนวเพลงป๊อป ร็อค แร็พ ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้สมองสามารถจำได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วน การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเขียนบทความ นิยาย แถลงการณ์ ควรฟังดนตรีแนวคลาสสิก ที่มีสำเนียงเยือกเย็นคลอในระหว่างทำงาน จะเพิ่มจินตนาการและสมาธิ สำหรับงานคิดคำนวณ งานบัญชี งานรวบรวมเอกสาร หรือวัตถุดิบ ควรฟังเพลงพวกเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ ที่ช่วยกระตุ้นระบบสัมผัส

ในด้านการแพทย์ มักแนะนำให้ใช้เสียงดนตรีกระตุ้นทารกในครรภ์มารดา ผลปรากฏว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบรับกับเสียงเพลง ทั้งทางพฤติกรรมและร่างกายที่ดี เสียงเพลงที่นุ่มนวลจะทำให้เด็กมีอาการสงบเงียบ ร่างกายเจริญเติบโตขึ้น และยังช่วยให้ระบบหายใจและระบบย่อยอาหารดีขึ้น นอกจากนี้การนำเสียงดนตรีมาบำบัดรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อน โดยเฉพาะการใช้ดนตรีสดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมงแรก ผลปรากฏว่าช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายภาวะทางอารมณ์ และช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดได้ดี