ฟังเพลงถูกใจเหมือนร่างกายได้ออกกำลังกาย

การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นนอกจากจะเพลิดเพลินแล้ว ยังมีประโยชน์อีกด้วย ทั้งออกกำลังกายได้นานขึ้น และเพิ่มพละกำลังให้คุณ จากงานวิจัยของหลายๆสำนักก็ยังยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ดนตรีนั้นมีผลต่อการออกกำลังกาย การฟังเพลงขณะการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไม่น่าเชื่อ และการฟังเพลงไม่ได้มีผลต่ออารมณ์คนฟังเท่านั้น แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายมากมายเช่นกัน

การฟังเพลงแจ็ส (jazz) สามารถช่วยเพิ่มอัตราการหายใจให้มากขึ้นได้ และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่สภาวะปกติเมื่อถึงช่วงสุดท้ายหรือใกล้จบเพลง สำหรับอัตราการเต้นของหัวใจ ร่างกายจะตอบสนองตามจังหวะของเสียงเพลง กล่าวคือ เพลงที่มีจังหวะเร็ว หัวใจก็จะเต้นเร็วหรือทำงานหนักขึ้น หากเพลงมีจังหวะที่ช้า หัวใจก็จะเต้นช้าตามไปด้วย นอกจากนี้ ชนิดของเพลงก็มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เพลงกระตุ้น (Stimulative music) ได้แก่ เพลง Rock, Rab, Hip-Hop หรือ Dance จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หากเป็นเพลงผ่อนคลาย (Sedative music) ได้แก่ เพลง Jazz, Classic หรือเพลงบรรเลง จะช่วยลดการทำงานของหัวใจได้

ขอแสดงความยินดีต่อบรรดาคนรักเสียงเพลงทั้งหลายด้วย เพราะนอกจากคุณจะเป็นคนที่มีดนตรีในหัวใจแล้ว คุณยังอาจจะเป็นคนที่มีสุขภาพดีที่สุดอีกคนหนึ่งด้วย เพราะมีผลศึกษาใหม่พบว่า การฟังเพลงโปรดช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย ฟังเพลงถูกใจเหมือนร่างกายได้ออกกำลังที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก การฟังเพลงที่คนฟังรู้สึกว่าเป็นเพลงที่ทำให้หัวใจเบิกบาน ส่งผลให้หลอดเลือดขยายกว้างขึ้น เลือดจึงไหลเวียนดีขึ้น แต่ผลลัพธ์จะกลับกันหากเป็นเพลงที่คนฟังไม่ชอบ

จากผลวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยได้ให้ความรู้เสริมว่า ผลลัพธ์แง่บวกจากที่ฟังเพลงที่ชื่นชอบนั้นทำให้หลอดเลือดขยายตัวมีความชัดเจนมากพอๆ กับการออกกำลังกายหรือการใช้ยาลดคลอเรสเตอรอลเลยทีเดียว

เรารู้กันอยู่แล้วว่า ความเครียดมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว แต่เราอยากรู้ว่าเมื่อเล่นเพลงโปรด จะทำให้หลอดเลือดขยายได้หรือไม่ จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการทดลองเราคิดว่าจะได้เห็นเลือดไหลเวียนดีขึ้น แต่ไม่คิดว่าจะมากเท่านี้” ดร.ไมค์ มิลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ สหรัฐฯ ผู้ทำการวิจัยนี้กล่าว

ทั้งนี้ผลการศึกษาดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า เพลงที่ฟังแล้วมีความสุขช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิต ส่งผลต่อเนื่องให้คลอเรสเตอรอลลดลง ลดอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันนอกจากนี้ยังทำให้สมองหลั่งไนตริกออกไซด์ หรือฮอร์โมนเอนดอร์ฟินที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกดี ออกมามากขึ้นเมื่อกลุ่มตัวอย่างได้ฟังเพลงโปรด

ไม่น่าเชื่อเลยว่าการฟังเพลง นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังมีผลดีต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเราด้วย แบบคงต้องฟังเพลงโปรดบ่อยๆ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วคุณหล่ะชอบฟังเพลงอะไรกันบ้าง

การฟังเพลงทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น

ถ้าพูดถึงเสียงเพลงกับการออกกำลังกาย คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการเต้นแอโรบิค เพราะเป็นกิจกรรมประกอบเพลงที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่หลายครั้งที่เหลือบไปเห็นผู้รักสุขภาพหลายคนวิ่งบนลู่ไฟฟ้าแล้วมีหูฟัง ติดหูอยู่ด้วยซึ่งการฟังเพลงในการออกกำลังกาย

นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไม่น่าเชื่อ และการฟังเพลงไม่ได้มีผลต่ออารมณ์คนฟังเท่านั้น แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายมากมายเช่นกัน

“เพลงแจ็ซ” (jazz) ช่วย เพิ่มอัตราการหายใจให้ถี่ขึ้นได้ และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่สภาวะปกติเมื่อถึงช่วงใกล้จบเพลง ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจ ร่างกายจะตอบสนองตามจังหวะของเสียงเพลง คือ เมื่อฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว หัวใจก็จะเต้นเร็วหรือทำงานหนักขึ้น ส่วนเพลงจังหวะช้า หัวใจก็จะเต้นช้าตามไปด้วย
ชนิดของเพลงก็มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เพลงกระตุ้น (Stimulative music) คือ ร็อค, แร็พ, ฮิพฮอพ และเพลงแดนซ์ เพลงเหล่านี้จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นเพลงผ่อนคลาย (Sedative music) อย่าง เพลงแจ๊ซหรือเพลงคลาสสิค รวมทั้งเพลงบรรเลง สามารถช่วยลดการทำงานของหัวใจได้ ถ้าสามารถนำประเภทและประโยชน์ของเพลงไปปรับใช้กับการออกกำลังกายของผู้รัก สุขภาพได้อย่างเหมาะสมคงจะดีไม่น้อย

ประโยชน์ ของเพลงในการออกกำลังกายยังมีผลต่อความอดทนของร่างกายด้วยเช่นกัน นักวิจัยหลายคนได้ศึกษาผลของเพลง พบว่าเพลงช่วยเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อในการลุก-นั่ง (Sit-up) และการดันพื้น (Push up) สำหรับ การเดินฟังเพลงนั้น เพลงจะช่วยให้การเดินมีอัตราที่เร็วขึ้น รวมทั้งเพลงยังช่วยเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกาย โดยการเดินหรือการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งการฟังเพลงจังหวะช้าๆ เสียงเบาๆ จะทำให้เราออกกำลังกายได้นานกว่าการฟังเพลงจังหวะเร็วและเสียงดัง

การฟังเพลงคัดสรรหรือเพลงที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น เมื่อเทียบกับการฟังเพลงที่ชอบและการไม่ฟังเพลงขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายด้วยเพลงคัดสรร สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยานให้นานขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ออกกำลังกายการฟังเพลงไม่สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยาน ให้นานขึ้นได้

ฟังเพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดขึ้นจริงหรือไม่

.3

ฟังเพลงคลาสสิกทำให้ฉลาดขึ้นจริงหรือเคยมีใครได้ยินเรื่องที่ว่า ถ้าเราให้เด็กฟังเพลงคลาสสิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงของโมสาร์ท แล้วเด็กจะฉลาดบ้างไหม คราวนี้ เราจะมาดูกันว่า แนวคิดในเรื่องนี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์แท้หรือวิทยาศาสตร์เทียมแค่ไหน อย่างไร โมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์ แนวคิดข้างต้นมีชื่อเรียกเฉพาะว่า โมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์ ผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นก็คือ อัลเฟรด โทเมทิส แต่แนวคิดเรื่องนี้ถือกำเนิดขึ้นก่อนหน้านั้นในปี 2536 ด้วยความร่วมมือของนักฟิสิกส์ชื่อ กอร์ดอน ชอว์ และผู้ชำนาญการเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของสมอง และเป็นอดีตนักเล่นไวโอลินในวงคอนเสิร์ตอีกชื่อ ฟรานเชส รอสเชอร์ ทั้งคู่ได้ศึกษาผลกระทบต่อนักศึกษาจำนวน 36 คน หลังจากฟังเพลงชื่อ โซนาตาในดีเมเจอร์สำหรับเปียโนคู่ ของโมสาร์ทไปราว 10 นาที

ผลที่ได้ทำให้หลายคนต้องประหลาดใจ เพราะพวกเขาพบว่า การฟังเพลงดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีความสามารถ ในการทำแบบทดสอบไอคิว ชนิดสแตนฟอร์ด-ไบเนท ดีขึ้นราว 8-9 จุด วิธีการที่พวกเขาทดสอบก็คือ ให้พวกนักศึกษาทดลอง การพับและตัดกระดาษ ปรากฏว่า สื่อมวลชนสนใจผลงานดังกล่าวกันอย่างมากส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลการวิจัยดังกล่าว ตีพิมพ์อยู่ในวารสารวิทยาศาสตร์Nature ที่โด่งดังและได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูงต่อมา ยังมีการกล่าวอ้างเพิ่มเติมออกไปอย่างกว้างขวางชนิดที่ว่า ไม่เกรงใจผลการทดลองจริงๆ ว่า ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองเปิดเพลงคลาสสิกให้คุณลูกที่ยังแบเบาะหรือยังเล็กอยู่ รวมไปถึงฟังเพลงดังกล่าวขณะที่ตั้งครรภ์จะให้ผลแบบเดียวกัน

แต่ข้ออ้างดังกล่าวไม่มีผลการทดลองยืนยันแต่อย่างใดตัวนักวิจัยคนหนึ่งเองคือ ชอว์ก็เข้าร่วมขบวนแห่ขบวนเห่อแนวคิดดังกล่าวไปด้วย โดยการออกหนังสือและแผ่นซีดีชื่อ Keeping Mozart in Mind ในช่วงเวลาภายหลังการตีพิมพ์ผลการวิจัยไปแล้ว 6 ปีชอว์เองตีความผลการทดลองว่า แบบทดสอบที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดการใช้เหตุผล ซึ่งจำเป็นต่อระบบความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนคณิตศาสตร์ วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ด้วย ดังนั้น การฟังเพลงดังว่า ก็น่าจะเพิ่มระดับสติปัญญาได้ด้วย มีคำกล่าวอ้างเกินจริงอันน่าพิศวงเกี่ยวกับโมสาร์ทเอ็ฟเฟคท์อยู่หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น มีผู้กล่าวอ้างว่าผลการทดลองของชอว์และรอสเชอร์ แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาทำคะแนนการสอบ SAT (เป็นแบบทดสอบมาตรฐานแบบหนึ่ง ที่ใช้ช่วยในการคัดเลือกนักศึกษา เพื่อเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นสูง ในประเทศสหรัฐ) ได้เพิ่มถึง 51 จุด แม้ว่าผลการทดลองข้างต้น ที่ผมเล่าให้ฟังนั้น จะไม่เกี่ยวอะไรกับการสอบ SAT เลยก็ตาม

พัฒนาสมองด้วยเพลงคลาสสิก

ดนตรีคลาสสิกเป็นเพลงประพันธ์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เพราะด้วยแบบฟอร์มอันสลับซับซ้อนที่ถูกเรียบเรียงขึ้นมาด้วยความประณีต บวกกับการสื่ออารมณ์ที่นักแต่งเพลงบรรจงแทรกสอดเข้าไปในแต่ละโน้ตเพลง การฟังเพลงคลาสสิกจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาสมองพร้อมๆไปกับการพัฒนาจิตใจ ที่ไม่ต้องใช้การลงทุนที่มากมายอะไรเลย

เพลงคลาสสิกมีอยู่มากมายหลายประเภท ทั้งประเภทเต้นรำที่มีท่วงทำนองที่เร้าใจ หรือเพลงที่บรรยายถึงธรรมชาติที่มีจังหวะช้าและเร็วสลับกันไป ในขณะที่บางบทเพลงก็สามารถประเทืองอารมณ์ หรือช่วยปลดปล่อยความรู้สึกที่คั่งค้างอยู่ภายในจิตใจได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำเอาเพลงคลาสสิกมาใช้ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนา “สติปัญญา (I.Q.)” อันเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตนั่นเอง

ความเชื่อที่ว่า “การได้ให้ฟังเพลงคลาสสิกตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จะทำให้เด็กคนนั้นโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียวมากกว่าปกติ” ถือเป็นสมมติฐานที่ถูกตั้งเอาไว้ตั้งแต่ในอดีต บ้างก็เชื่อกันว่าดนตรีคลาสสิกที่มีท่วงทำนองและจังหวะซับซ้อน จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ส่วนจังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีก็มีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถในด้านภาษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อสมมติฐานดังกล่าวนี้ก็ถูกนักวิจัยมากมายศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า เพลงคลาสสิกมีผลต่อการพัฒนาไอคิวของมนุษย์ได้อย่างไร

ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศหลายฉบับ ได้รายงานผลการทดสอบที่สอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีคลาสสิกที่มีผลต่อความฉลาดของมนุษย์ โดยการฟังให้ได้ผลดีจะต้องเป็น “การฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่เพียงการได้ยิน” ทั้งนี้เนื่องจากการฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เราได้มีโอกาสพิจารณาและวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของเนื้อหาของดนตรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การฟังหูซ้ายทะลุหูขวาอย่างที่เราเคยเข้าใจกัน ซึ่งการพัฒนาทางสมองนี้ไม่ใช่ว่าจะสามารถฉลาดขึ้นมาได้ในทันทีที่ได้ฟังเพลงคลาสสิก แต่จะต้องเป็นการค่อยๆสะสมหรือบ่มเพาะสติปัญญาทีละน้อยๆ ใครที่เริ่มต้นได้ก่อนจึงถือเป็นความได้เปรียบที่สมองจะถูกพัฒนาได้มากกว่านั่นเอง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ดนตรีโมสาร์ทถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กทารก โดยเชื่อว่าถ้าทารกคนไหนได้ฟังเพลงโมสาร์ทเป็นประจำ เมื่อทารกคนนั้นโตขึ้นจะมีสมองที่ดีกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งความเชื่อที่ว่านี้ได้ถูกนำมาใช้จริงในโลกยุคปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ดังเช่นในรัฐจอร์เจีย แห่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการออกกฎบังคับให้เด็กเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นดิสก์เพลงโมสาร์ท ส่วนรัฐฟลอริดาก็มีการบังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนต้องฟังเพลงดนตรีคลาสสิกทุกวันที่ไปโรงเรียน จะเห็นได้ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถพัฒนาได้ง่ายจากปัจจัยแวดล้อมที่อยู่รอบกายเรา ซึ่งหากเราจัดสรรสิ่งแวดล้อมที่ดีให้มาอยู่รอบกายเราเสมอ ก็จะมีผลให้เราได้รับแต่สิ่งดีๆเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แค่เพียงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่อาจจะช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่เราจำเป็นจะต้องเพิ่มความพยายาม และใส่ความตั้งใจลงไปด้วย เพียงเท่านี้ คุณก็จะกลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นแล้วละค่ะ

เสียงดนตรีมีอิทธิพลอย่างมากต่อมวลมนุษย์

-20130624-155632
เสียง มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สมอง ประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรมของสังคม วิถีชีวิต จากทฤษฎีของเสียงที่พิสูจน์ได้ว่าเสียงมีอำนาจ มีอำนาจอยู่ที่ไหนก็จะมีเสียงอยู่ที่นั่น มีเสียงอยู่ที่ไหนอำนาจก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ดังนั้นพิธีกรรมของมนุษย์ทุกๆพิธีกรรมจึงประกอบด้วยเสียงดนตรี ตั้งแต่เสียงสวดมนต์ภาวนาเสียงตีเกราะเคาะไม้ เสียงดีดสีตีเป่า แม้แต่เสียงจุดประทัดในเทศกาลตรุษจีน หรือจุดประทัดของชาวเรือประมงที่จะออกทะเลเพื่อหาปลา เสียงปืนใหญ่ยิงเพื่อยกย่องในงานศพของวีรบุรุษ เสียงกลองยาว แตรวงงานบวช ซึ่งล้วนเป็นเสียงแสดงถึงอำนาจและเป็นหุ้นส่วนของพิธีกรรมทั้งสิ้น

ดนตรี เป็นเสียงที่ไพเราะเป็นเสียงที่ละเอียดสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจด้วยการประดิษฐ์เสียงอย่างประณีตและบรรจง มนุษย์สร้างเสียงขึ้นเพื่อให้มนุษย์ด้วยกันฟัง มนุษย์เป็นผู้สร้างมาตรฐานของความไพเราะโดยอาศัยความรู้สึกที่ดีเอาเสียงที่ไพเราะงดงาม นำแต่ละเสียงมาเรียงร้อยให้ปะติดปะต่อกันจนกลายเป็นบทเพลงที่ไพเราะ ดนตรีเป็นศิลปะที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ตามความปรารถนาของมนุษย์ ซึ่งดนตรีอาจจะรับใช้ในฐานะที่เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม หรือดนตรีอยู่ในฐานะของความบันเทิง

ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แรกเกิดทารกจะได้ยินเสียงเห่กล่อมจากมารดา หรือฟังเสียงเพลงเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาดนตรีก็ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนามนุษย์ให้เจริญงอกงามครบทุกด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา เมื่อชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ดนตรีก็จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการทำงาน ในรูปแบบต่างๆกันออกไป จนสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีดนตรีเพื่อใช้สำหรับงานศพ จะเห็นได้ว่าดนตรีนั้นมีความผูกพันต่อมนุษย์อย่างลึกซึ้ง

อิทธิพลของเสียงดนตรี    

– ทำนองเพลง (Melody) ทำให้เกิดสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร ความเป็นพวกเดียวกัน ลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจรู้สึกสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายหรือตึงเครียด และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ
– ลีลาจังหวะ (Rhythm) ลีลาจังหวะของดนตรีทุกชนิดมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ไม่ว่าจะเป็นลีลาจังหวะของทำนองเพลง ลีลาจังหวะของเสียงประกอบทำนอง
– ความดังหรือความเข้มของเสียง (Volume or Intensity) ความดัง หรือความเข้มของเสียง สามารถทำให้ผู้ที่ได้ยินเสียง แสดงอาการโต้ตอบกลับได้หลายลักษณะ
– ความเร็วจังหวะ (Tempo) จังหวะที่เร็วจะเร้าความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังตื่นเต้น ไม่สงบ จังหวะที่ช้ามีผลทำให้สงบ
– เสียงประสาน (Harmony) คุณภาพของเสียงที่เกิดจากการประสานกันของเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทเพลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องของมนุษย์ เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ